พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ “ไม่ให้เล่น = ยังเล่นได้อยู่”

พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ “ไม่ให้เล่น = ยังเล่นได้อยู่”

“พระเล่นได้แค่ไหน”

ศีลท้ังหมด 227 ข้อของพระภิกษุ มีบางข้อที่เข้าข่ายการเล่น เช่น

ข้อ 101 ห้ามจี้ภิกษุให้หัวเราะ

ข้อ 109 ห้ามเล่นซ่อนบริขารหรือสิ่งของของภิกษุอื่น (บริขาร คือ เครื่องใช้สอยของพระภิกษุ มี 8 อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า)

ข้อ 156 เราจักไม่หัวเราะเสียงดัง เมื่อไปในบ้าน

ข้อ 157 เราจักไม่หัวเราะเสียงดัง เมื่อนั่งในบ้าน

แต่สิ่งที่เราเห็นในจักรวาลคอนเทนต์ของ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ที่ผ่านมา

📍 เราได้ยินเสียงหัวเราะบ่อยถี่พอๆ กับการพูดคุย (เผลอๆ มากกว่าด้วยซ้ำ)

📍 เราเห็น มีม พส.เต็มโลกออนไลน์

📍 เราเห็นการกลับไปตั้งคำถามถึงความสำรวมและความเหมาะสมเป็นระยะ

📍 แล้วการเล่นของ พส.ล่ะ เป็นอย่างไร

สจ๊วต บราวน์ ผู้บุกเบิกงานวิจัยเกี่ยวกับการเล่น และ ผู้อำนวยการสถาบันการเล่นแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา บอกว่า การเล่นมันมีมากกว่าเรื่องสนุก และมนุษย์ถูกออกแบบให้เล่นตลอดชีวิตของเรา“

เด็กที่เล่นมากๆ จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่เฉลียวฉลาด และมีความสุข และถ้าเรายังคงเล่นอยู่ มันจะช่วยให้เราฉลาดขึ้น ไม่ว่าอยู่ในวัยไหน”

บราวน์ยังบอกอีกว่า สิ่งที่ตรงข้ามกับการเล่นไม่ใช่การทำงาน แต่คือ ความหดหู่ อย่างนั้นแล้ว ชีวิตที่ปราศจากการเล่น หรือถูกห้ามเล่น มันจะเป็นอย่างไร

จึงเป็นที่มาของ mappa live ครั้งที่ 7 สนทนากับ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ในหัวข้อ “ไม่ให้เล่น = ยังเล่นได้อยู่” เพื่อกลับไปตั้งคำถามว่าถ้าการเล่นมันสำคัญจริงๆ เราควรเล่นได้ไหม เล่นอย่างไร โดยเฉพาะการเล่นในความหมายของพระ

ตัดริบบิ้นชิ้นแรกของ ‘เล่นเล่น’ ซีรีส์ว่าด้วยการเล่นอย่างจริงจัง โปรเจกต์เฉพาะกิจร่วมกันของ mappa และ Leeway การเรียนรู้ผ่านการเล่น

ดำเนินรายการโดย มิรา ชัยมหาวงศ์ Founder mappa Media และ ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ Co-Founder mappa Media / บรรณาธิการ mappa

Writer
Avatar photo
mappa