สำรวจ เรียนรู้ และเข้าใจโลกรอบตัวด้วย ‘การเล่น’ เพราะ Innovative Skills ก็สัมผัสประสบการณ์ได้ผ่าน ‘การเล่นอิสระ’
สำรวจ เรียนรู้ และเข้าใจโลกรอบตัวด้วย ‘การเล่น’ เพราะ Innovative Skills ก็สัมผัสประสบการณ์ได้ผ่าน ‘การเล่นอิสระ’
เมื่อครั้งยังเด็ก เรามักพัฒนาความรู้ความเข้าใจในสื่อต่างๆ ผ่านอิทธิพลรอบข้างและปฏิสัมพันธ์รอบกาย ซึ่งในบรรดาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ‘การเล่น’ (Play) ถือว่าเป็นวิธีที่โดดเด่น ทั้งที่เป็นกลไกสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความเป็นธรรมชาติของเด็กๆ
ธรรมชาติที่ว่านั้น ได้แก่ การที่พวกเขาได้สำรวจ เรียนรู้ และสามารถเข้าใจโลกรอบตัวได้ผ่านการเล่น ซึ่งเมื่อเจาะลึกเข้าไปแล้วนั้น เรายังค้นพบว่าบทบาทหนึ่งของการอำนวยความสะดวกในการเล่นให้กับเด็กๆ ยังสามารถช่วยเสริมสร้างการเติบโตให้กับพวกเขาได้
ยิ่งไปกว่านั้น ในการวางรากฐานการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) เราอาจยังต้องเพิ่มวิธีการพัฒนาทักษะบางอย่างให้กับพวกเขา ซึ่งหนึ่งในวิธีการตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้นั้น ความสามารถในการทำความเข้าใจตนเอง อารมณ์ และสังคมได้อย่างดี เหล่านั้นคือการเปิดกว้างเรียนรู้กับ ‘ทักษะนวัตกรรม’ (Innovative Skills) ซึ่งนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ แล้วนั้น ยังเป็นทำความเข้าใจเรียนรู้ตัวตนและสังคมอีกด้วย
ก่อนอื่นเราอาจต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ‘ทักษะทางนวัตกรรม’ ที่สอดคล้องกับการก่อร่างสร้างความคิดสร้างสรรค์ (Creative) ให้แก่เด็กๆ มีอะไรบ้าง
• เราอาจจำแนกง่ายๆ ออกเป็น 7 ข้อ ได้แก่
1. ทักษะการแก้ปัญหา : สิ่งที่ง่ายที่สุดในการออกแบบการเรียนรู้ในทักษะการแก้ปัญหาคือการ สนับสนุนให้เด็กๆ ‘คิดนอกกรอบ’ เพราะพวกเขาจะได้เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยวิธีที่แตกต่างกันไป
2. การคิดเชิงวิพากษ์ : ‘การประเมินผลลัพธ์’ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่อำนวยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล
3. การพัฒนาความรู้และความเข้าใจ : จุดที่สำคัญที่สุดคือ สิ่งที่ดึงดูด ‘ความสนใจ’ เพราะนั่นจะเป็นก้าวแรกในการต่อยอดไปถึงการประมวลผลข้อมูล
4. การพัฒนาในฐานะบุคคล : ‘ความมั่นใจในตัวเอง’ และ ‘การกล้าแสดงออก’ ทั้งในแง่ความคิดและการสื่อสารถือเป็นอีกทักษะสำคัญที่เรียนรู้ได้ผ่านการเล่นเช่นกัน
5. นวัตกรรมทางสังคม : เพื่อสร้างกลยุทธ์และแนวคิดใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการทางสังคม และสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ ในทักษะการใช้ชีวิตทางสังคม
5. ความคิดเชิงสร้างสรรค์ : ที่ยิ่งเปิดกว้าง ต่อยอด ไปต่อกับความท้าทายในกระบวนการจินตนาการและความคิดนอกกรอบ
6. การเตรียมตัวสำหรับอนาคต : เมื่อโลกเราหมุนไวและอะไรๆ เปลี่ยนแปลงไปในทุกๆ วัน การส่งเสริมและก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์นั้นถือเป็นการต้องใช้ความสามารถในการปรับตัวไปกับนวัตกรรมต่างๆ
แล้วเราจะออกแบบการเล่นอย่างไร ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในทักษะนวัตกรรม?
“การเล่นเป็นรากฐานของการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ การแสดงออก และการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นหนทางที่เด็กๆ ใช้ในการทำความเข้าใจชีวิต เพื่อให้ชีวิตมีความหมาย”
ประโยคสำคัญจาก ซูซาน ลินน์ (Susan Linn) จิตแพทย์ชาวอเมริกันร่วมสมัย ที่ชี้ให้เราเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง ‘การเล่น’ ‘การเรียนรู้’ และ ‘ทักษะนวัตกรรม’ นั้นสำคัญอย่างไร
มีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากมายที่ชี้ว่า การเล่นเป็นมากกว่าความบันเทิง เพราะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาสมองผ่านการกระตุ้นความยืดหยุ่นและการเสริมสร้างระบบประสาท ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความจำ ความสนใจ กระทั่งถึงการตัดสินใจ
ซึ่งการออกแบบ ‘การเล่น’ ให้ไม่ใช่แค่ ‘เรื่องเล่นๆ’ เราอาจริเริ่มได้ ดังนี้
1. การสวมบทบาทและการเล่นตามจินตนาการ
2. เล่นกลางแจ้ง และเล่นกับธรรมชาติ
3. การเล่นแบบไม่มีโครงสร้างและมีโครงสร้างอย่างสมดุลกัน
ซึ่งสิ่งสำคัญคือการออกแบบการเล่นที่หลากหลาย โดยมีเด็กๆ เป็นเจ้าของการเล่นและการเรียนรู้ที่แท้จริง เหล่านั้นจะช่วยให้พวกเขาเหล่านั้นมีพัฒนาการทางทักษะนวัตกรรมรวมถึงทักษะทางสังคมได้อย่างแน่นอน
Writer
ภาพตะวัน
แสงแดดยามเช้า กาแฟหนึ่งแก้ว และแมวหนึ่งตัว
illustrator
Arunnoon
มนุษย์อินโทรเวิร์ตที่อยากสื่อสารและเชื่อมโยงกับผู้คนผ่านภาพวาด