รู้และใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของนักเรียนผ่านคู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน

รู้และใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของนักเรียนผ่านคู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน

  • เรื่อง ‘สิทธิ’ ของนักเรียน คือ บทเรียนที่ครูไม่ได้สอน แต่ถูกละเมิด เพียงเพราะคำตอบชุดเดิมว่า ‘นี่คือกฎของโรงเรียน นักเรียนต้องทำตาม’
  • mappa ชวนดูสิทธิขั้นพื้นฐานที่นักเรียนทุกคนควรรู้ในด้านต่างๆ ทั้งสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย การพูดหรือการแสดงออก ทรัพย์สิน และมีความปลอดภัย เพื่อให้เราเข้าใจแล้วสามารถนำข้อมูลไปแย้งได้เพื่อเอาตัวรอดในโรงเรียน
  • จากประสบการณ์ที่เพิ่งพ้นรั้วโรงเรียนมาไม่กี่ปีของอินเทิร์น (นักศึกษาฝึกงาน) ที่ถูกนำเป็นวัตถุดิบสำคัญของอินโฟกราฟิกชิ้นนี้ ที่ไม่ใช่แค่การรีวิว หากคือการอ่านแล้วกลับไปถามตัวเองแต่ละข้อว่า ถ้าตอนที่ยังเป็นนักเรียนได้รู้สิทธิต่างๆ เหล่านี้ มันจะเป็นอย่างไร

ทำไมต้องเป็นเด็กดี? ถ้าเป็นเด็กดีแล้วต้องถูกละเมิดสิทธิ

‘ตัดผมทรงนักเรียน’  ทั้งๆ ที่นักเรียนจะทำผมทรงอะไรก็ได้

‘ห้ามแต่งหน้า’ ทั้งๆ ที่ครูก็แต่งหน้า

‘ห้ามเถียง’ ทั้งๆ ที่นักเรียนก็มีสิทธิพูด

นี่คือสิทธิที่โรงเรียนควรสอน แต่ไม่สอน อีกทั้งยังถูกละเมิดเพียงเพราะคำตอบชุดเดิมว่า ‘นี่คือกฎของโรงเรียน นักเรียนต้องทำตาม’

mappa ชวนดูสิทธิขั้นพื้นฐานที่นักเรียนทุกคนควรรู้ ในด้านต่างๆ ทั้งสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย การพูดหรือการแสดงออก ทรัพย์สิน และมีความปลอดภัย เพื่อให้เราเข้าใจแล้วสามารถนำข้อมูลไปแย้งได้เพื่อเอาตัวรอดในโรงเรียน

จากประสบการณ์ที่เพิ่งพ้นรั้วโรงเรียนมาไม่กี่ปีของอินเทิร์น (นักศึกษาฝึกงาน) ถูกนำเป็นวัตถุดิบสำคัญของอินโฟกราฟิกชิ้นนี้ ที่ไม่ใช่แค่การรีวิว หากคือการอ่านแล้วกลับไปถามตัวเองแต่ละข้อว่า ถ้าตอนที่ยังเป็นนักเรียนได้รู้สิทธิต่างๆ เหล่านี้ มันจะเป็นอย่างไร

“อยากให้น้องกล้าตั้งคำถาม อย่าเงียบ ไม่ต้องตั้งคำถามกับเพื่อน แต่ต้องตั้งคำถามกับครูไปเลยตรงๆ ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องกลัวว่าการที่เราพูดอะไรออกไปแล้วผลอะไรจะตามมา มันคือสิทธิของเราที่มีมาตั้งแต่เกิดแล้ว รวมถึงเสียงของเรามีความหมาย”

คือสิ่งที่รุ่นพี่อยากบอกรุ่นน้อง และหลังจากนี้ คือ 4 สิทธิขั้นพื้นฐานที่คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียนบอก แต่โรงเรียนไม่บอก

สิทธิเนื้อตัวร่างกาย

‘คะแนนความประพฤติ’ คือ สิ่งที่ครูมักจะหักคะแนนออกไปเมื่อนักเรียนไม่ทำตามกฎระเบียบของโรงเรียน 

รวมถึงใช้วิธีการอื่นๆ เพื่อให้เด็กถูกระเบียบที่สุดตั้งแต่หัวจรดเท้า ไม่ว่าจะลบเครื่องสำอางค์ ตัดผมให้ เลาะตะเข็บกระโปรงหรือกางเกงให้คลุมเข่าตามสิ่งที่โรงเรียนกำหนด

ทั้งหมดนี้ ครูไม่มีสิทธิ เพราะร่่างกายนักเรียนเป็นของนักเรียน พวกเขามีสิทธิที่จะไม่ยอมและไม่ถูกตัดสิน พวกเขาจะต้องเป็นตัวเองได้เต็มที่ในโรงเรียนอย่างไร้เงื่อนไข

สิทธิการพูดและแสดงออก

การเถียงไม่ใช่การแก้ตัว แต่เป็นการอธิบายด้วยเหตุผล

อย่างน้อย การพูดคือการเปิดประตูสู่การรับฟังเพื่อแก้ไขปัญหา

มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นบนหลักของคำว่า ‘เสรีภาพ’ และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกรูปแบบ เด็กนักเรียนก็เช่นกัน

ขณะเดียวกัน โรงเรียนควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยและคุ้มครองสิทธิการพูดของนักเรียนทุกคน เพื่อเป็นหลักประกันทางใจว่า ในวันที่ไม่มีใครเข้าใจ โรงเรียนจะเป็นคนอยู่ข้างๆ พวกเขาเอง

แต่โรงเรียนในวันนี้กลับไม่เป็นเช่นนั้น…

สิทธิทรัพย์สิน

เครื่องสำอาง เสื้อคลุมแดด โทรศัพท์ คือ สิ่งของที่ครูจะยึด

บางครั้งเป็นแค่คำขู่ บางครั้งโดนยึด หลายครั้งก็ไม่ได้คืน 

และหลายๆ ครั้งนักเรียนต้องยอม เพราะมันเป็น ‘กฎ’ ที่ต้องทำตาม นักเรียนจะปฏิเสธไม่ได้ 

แต่จริงๆแล้ว ทรัพย์สินของเราคือสิทธิของเรา ครูจะยึดไม่ได้ นอกจากสิ่งของที่เป็นอันตราย คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียนบอกแบบนั้น

ถึงแม้จะยึดได้ แต่ต้องกำหนดเวลาคืน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 37 ระบุว่า  หากครูปฏิเสธว่าไม่ได้ยึดหรือไม่ให้คืนจะถือเป็นการยักยอกทรัพย์

สิทธิความปลอดภัย

โรงเรียนต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัย

คำพูดที่ได้ยินมาหลายสิบปี แต่ก็ยังทำไม่ได้ 100% ในวันนี้

เพราะครูยังลงโทษเด็กด้วยวิธีการแบบเดิม ตีบ้าง ตบหัวบ้าง ทำร้ายด้วยคำพูดบ้าง

โรงเรียนจึงไม่ใช่ความปลอดภัย แต่เป็นบาดแผลฝังใจที่ไม่เคยลืม

ครูไม่มีสิทธิตี แต่ตักเตือนได้ ตัดคะแนนความประพฤติ  ให้เราทำกิจกรรมเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช่การตีหรือทำร้ายร่างกายและจิตใจ 

Writer
Avatar photo
สุภาพรรณ ฤทธิยา

หายใจเข้าเพลง k-indie หายใจออกซีรี่ย์ อนิเมะ นิสิตฝึกเขียนเอกวารสารฯ ที่ตอนนี้กำลังสนุกกับการเรียนรู้โลกกว้างก่อนเรียนจบ

Writer
Avatar photo
รุจิภาส กิจติเวชกุล

อินเทิร์นผู้มีคำถามแรกๆ ในชีวิตว่าคนเราเกิดมาทำไม และถามคำถามต่อๆ มาที่สังคมไม่อยากฟัง จึงหาคำตอบส่วนใหญ่ไปกับการอ่าน

illustrator
Avatar photo
กมลชนก แก้วก่า

นักศึกษาฝึกงาน graphic design ชอบฟังพอดแคสต์ มีความฝันอยากเลี้ยงแมวส้ม

Related Posts

Related Posts